วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

วิทีทัศน์: เรื่อง ปราฏการณ์ลมฟ้าอากาศ
โดย:naettyc27
ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=khy9AWWwy5E

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561


น้ำในบรรยากาศ

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/Sci_P5_1_7.png

ชนิดของน้ำในบรรยากาศ

ปรากฎการณ์ลมฟ้าอากาศ 
                  คือ สภาพพื้นผิวโลกแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน บางแห่งเป็นพื้นดิน บางแห่งเป็นพื้นน้ำ ดังนั้นการรับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงแตกต่างกัน เป็นผลให้อากาศที่อยู่เหนือบริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิ และความกดอากาศต่างกันทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่ขึ้น

ลมฟ้าอากาศ (อังกฤษ: weather) เป็นสถานะของบรรยากาศ ถึงระดับที่ว่าบรรยากาศร้อนหรือเย็น เปียกหรือแห้ง สงบหรือมีพายุ เปิดหรือมีเมฆ[1]ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศส่วนมากเกิดขึ้นในชั้นโทรโพสเฟียร์[2][3] ใต้ชั้นสตราโทสเฟียร์ ลมฟ้าอากาศโดยทั่วไปหมายถึงอุณหภูมิวันต่อวันและกิจกรรมหยาดน้ำฟ้า ขณะที่ภูมิอากาศ (climate) เป็นคำใช้กับสภาพบรรยากาศโดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลานาน[4]

ภูมิอากาศ (Climate)  หมายถึง   สภาวะอากาศของทวีปประเทศ  เมือง  หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง   เป็นลักษณะอากาศที่เกิด
ขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน  จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง   ในบางครั้งเราเรียกว่า   
ภูมิอากาศประจําถิ่น”  (Topoclimate)  ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจําวันและนําข้อมูลที่ได้มาทําการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน  แล้วจึงนํา
มาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง   โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่  อุณหภูมิ ความชื้น  ปริมาณน้ำฝน  เมฆ  และลม  ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  อันได้แก่  ทัศนวิสัย  
แสงแดด พายุหมุน   เป็นต้น   ข้อมูลดังกล่าวเราเรียกว่า   “ ธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยา ” (Meteorological Element) 

ลมฟ้าอากาศคืออะไร
ลมฟ้าอากาศคือลักษณะการเปลี่ยนแปลงของอากาศรอบๆตัวเราซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจมีลักษณะสงบนิ่งหรือมีลมพัด อาจร้อนหรือหนาว ชื้นหรือแห้ง แต่ที่สำคัญที่สุดคือลม ฟ้า อากาศคือวิถีการเปลี่ยนแปลงของน้ำในอากาศ เพราะถ้าในอากาศไม่มีน้ำ ก็จะไม่มีเมฆ ไม่มีฝน ไม่มีหิมะ ไม่มีฟ้าแลบ ไม่มีฟ้าร้อง รวมทั้งไม่มี หมอกด้วย ลมฟ้าอากาศมีบทบาทต่อชีวิตของเราอย่างมาก และมีอิทธิพล กำหนดสิ่งที่เราทำมากมายหลายอย่าง 
ลมฟ้าอากาศตามที่ต่างๆ ลักษณะลมฟ้าอากาศแตกต่างกันไปตามพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก ตัวอย่างเช่น ในทะเลทราย จะไม่ค่อยมีฝนตก ส่วนในป่าดงดิบเขตร้อนอากาศจะร้อนและชื้นมาก 

ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
1. ลมฟ้าอากาศ
2. เมฆและฝน ลมและพายุ บรรยากาศ (ตอนที่ 2) การพยากรณ์อากาศ การเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของโลก
3. เมฆและฝน
4. การเกิดเมฆและฝน
5. ประเภทของเมฆ
6. โดยหากแบ่งระดับความสูงของเมฆชั้นต่างๆ โดยพิจารณาจากความสูงของ ฐานเมฆ แบ่งได้เป็น 3 เขต ดังนี้
7. การเกิดฝน เมื่อไอน้า ในอากาศลอยตัวสูงขึ้นไปกระทบกับอากาศเย็น เบื้องบน จะกลั่นตัวเป็นหยดน้า เล็กๆ รวมตัวกันเป็นเมฆ หยดน้า ขนาดเล็กรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีน้า หนักมากขึ้น แต่อากาศยังสามารถอุ้มไว้ได้ หยดน้า รวมตัวกันต่อไปอีกมีขนาดและมีน้า หนักเพิ่มมากขึ้น แต่ยัง สามารถล่องลอยอยู่ได้ เมื่อหยดน้า รวมตัวกันมีขนาดใหญ่มากขึ้น และมีน้า หนักมากเกินกว่า ที่อากาศจะอุ้มไว้ได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน
ปรากฎการณ์ลมฟ้าอากาศ
การเกิดลม ลมคือ อากาศที่เคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศ เป็นผลเนื่อง จากความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง หรือความแตกต่างของความกดอากาศสองแห่ง โดยลม จะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง เข้าสู่บริเวณที่มี ความกดอากาศต่ำ โดยกระแสการไหลของลมจะหยุด หรือความดันของสองจุดมีค่าเท่ากัน อย่างไรก็ตามการ ไหลของลมจะเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากปรากฏการณ์ โคริโอลิส
ลมฟ้าอากาศ คือ สภาวะของอากาศบนพื้นที่ใดๆในช่วงเวลาหนึ่ง
ภูมิอากาศ คือ สภาวะโดยทั่วไปของลมฟ้าอากาศบนพื้นที่ใดๆ ในช่วงเวลานาน ๆ ซึ่งพิจารณาจากการตรวจอากาศซ้ำ ๆ กันหลายครั้งเป็นระยะเวลานานประมาณ 30 - 35 ปี

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561


อากาศ                                                                                                        
มีอยู่รอบ ๆ ตัวเรา และอากาศก็มีอยู่รอบโลกตั้งแต่ระดับพื้นดินไปจนกระทั่งถึงระดับสูง อากาศที่อยู่ระดับดังกล่าวเราเรียกว่า บรรยากาศ



ลม
โลกมีบรรยากาศที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราเรียกว่า ลม ลมเกิดขึ้นเมื่อเกิดความแตกต่างระหว่างความกดอากาศสองบริเวณไม่เท่ากัน เนื่องจากอิทธิพลของความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกร้อนไม่เท่ากัน บริเวณที่อากาศร้อน อากาศจะลอยตัวสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศต่ำลง ในขณะที่บริเวณอากาศเย็น อุณหภูมิจะต่ำ ความกดอากาศจะสูงขึ้นเพราะอากาศจมตัว จึงเกิดการหมุนเวียนของอากาศจากบริเวณอากาศเย็นที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณอากาศร้อนที่มีความกดอากาศต่ำ บรรยากาศของโลกจะพยายามปรับตัวให้มีความกดอากาศเท่า ๆ กัน ดังนั้น บริเวณความกดอากาศสูงอากาศจะไหลไปแทนที่อากาศที่มีความกดอากาศต่ำกว่าอยู่ตลอดเวลา

เครื่องมือตรวจสอบทิศทางลม เราเรียกว่า ศรลม ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกศร มีหางเป็นแผ่นใหญ่ ศรลม จะหมุนรอบตัวตามแนวราบ จะลู่ลมในแนวขนานกับทิศทางที่ลมพัด เมื่อลมพัดมา หางลูกศรซึ่งมีขนาดใหญ่จะถูกลมผลักแรงกว่าหัวลูกศร หัวลูกศรจึงชี้ไปทิศทางที่ลมพัดมา