วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562


แบบฝึกหัดที่ 1
1. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพายุฤดูร้อน
1. เป็นพายุฟ้าคะนอง        2. มีความรุนแรงมาก
3. เกิดในแถบซีกโลกเหนือ 4. เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า

ลม เป็นการไหลเวียนของแก๊สในขนาดใหญ่ บนโลก ลมประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของอากาศขนาดใหญ่ ส่วนในอวกาศ ลมสุริยะเป็นการเคลื่อนที่ของแก๊สหรืออนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ผ่านอวกาศ ขณะที่ลมดาวเคราะห์เป็นการปล่อยแก๊ส (outgassing) ของธาตุเคมีเบาจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สู่อวกาศ โดยทั่วไป การจำแนกประเภทของลมใช้ขนาดเชิงพื้นที่, ความเร็ว, ประเภทของแรงที่เป็นสาเหตุ, ภูมิภาคที่เกิด และผลกระทบ ลมที่แรงที่สุดเท่าที่สังเกตพบบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเกิดขึ้นบนดาวเนปจูนและดาวเสาร์

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

วิทีทัศน์: เรื่อง ปราฏการณ์ลมฟ้าอากาศ
โดย:naettyc27
ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=khy9AWWwy5E

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561


น้ำในบรรยากาศ

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/Sci_P5_1_7.png

ชนิดของน้ำในบรรยากาศ

ปรากฎการณ์ลมฟ้าอากาศ 
                  คือ สภาพพื้นผิวโลกแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน บางแห่งเป็นพื้นดิน บางแห่งเป็นพื้นน้ำ ดังนั้นการรับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงแตกต่างกัน เป็นผลให้อากาศที่อยู่เหนือบริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิ และความกดอากาศต่างกันทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่ขึ้น

ลมฟ้าอากาศ (อังกฤษ: weather) เป็นสถานะของบรรยากาศ ถึงระดับที่ว่าบรรยากาศร้อนหรือเย็น เปียกหรือแห้ง สงบหรือมีพายุ เปิดหรือมีเมฆ[1]ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศส่วนมากเกิดขึ้นในชั้นโทรโพสเฟียร์[2][3] ใต้ชั้นสตราโทสเฟียร์ ลมฟ้าอากาศโดยทั่วไปหมายถึงอุณหภูมิวันต่อวันและกิจกรรมหยาดน้ำฟ้า ขณะที่ภูมิอากาศ (climate) เป็นคำใช้กับสภาพบรรยากาศโดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลานาน[4]

ภูมิอากาศ (Climate)  หมายถึง   สภาวะอากาศของทวีปประเทศ  เมือง  หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง   เป็นลักษณะอากาศที่เกิด
ขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน  จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง   ในบางครั้งเราเรียกว่า   
ภูมิอากาศประจําถิ่น”  (Topoclimate)  ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจําวันและนําข้อมูลที่ได้มาทําการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน  แล้วจึงนํา
มาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง   โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่  อุณหภูมิ ความชื้น  ปริมาณน้ำฝน  เมฆ  และลม  ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  อันได้แก่  ทัศนวิสัย  
แสงแดด พายุหมุน   เป็นต้น   ข้อมูลดังกล่าวเราเรียกว่า   “ ธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยา ” (Meteorological Element)